วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 การเคลื่อนที่แบบต่างๆ

          โพรเจกไทล์ (projectile) ในภาษาอังกฤษหมายถึงวัตถุที่ขว้างหรือยิงออกไป เช่น  ก้อนหินที่ถูกขว้างออกไปหรือลูกกระสุนที่ถูกยิงออกไป  ทั้งนี้ในบริเวณใกล้ผิวโลกตามปกติการเคลื่อนที่ของวัตถุดังกล่าวจะสังเกตได้ว่ามีวิถีโค้ง แต่จะโค้งอย่างใดโดยละเอียดและทำไมจึงโค้งเช่นนั้นจะได้ศึกษากันต่อไป  การเคลื่อนที่ตามรูปแบบที่วัตถุดังกล่าวเคลื่อนที่ไป โดยเฉพาะเมื่อไม่มีแรงต้านทานของอากาศหรือแรงต้านทานมีผลน้อยจนไม่ต้องนำมาคิด  จะเรียกว่า การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (projectile motion)  ในกรณีที่แรงต้านทานของอากาศมีผลต่อการเคลื่อนที่เนื่องจากวัตถุเบา อ่านเพิ่มเติม
                

บทที่ 3 แรงและกฏการเคลื่อนที่

3.1 แรง (Force)
ตามความหมายที่ใช้กันทั่วไป แรงคือ สิ่งที่กระทำต่อวัตถุในรูปของการพยายามดึงหรือดันที่จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ และเมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่หรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้อาจเพราะมีแรงอื่นกระทำต่อวัตถุด้วย เช่น ถ้าวัตถุวางบนพื้น แรงเสียดทานระหว่างพื้นกับวัตถุก็จะกระทำต่อวัตถุด้วย หากแรงที่กระทำต่อวัตถุไม่มากพอที่จะเอาชนะแรงเสียดทานวัตถุก็จะไม่เคลื่อนที่ หรือกรณีการออกแรงกระทำต่อวัตถุที่ยึดไว้อย่างแข็งแรง เช่น เสา หรือกำแพง เสาหรือกำแพงย่อมไม่เคลื่อนที่ เพราะแรงจากส่วนอื่นกระทำต่อวัตถุด้วย สำหรับวัตถุที่ไม่ได้ยึดไว้หรือมีแรงเสียดทานน้อย เช่นรถทดลอง แรงจะทำให้รถเคลื่อนที่ได้ อ่านเพิ่มเติม
 

บทที่ 2 การเคลื่อนที่แนวตรง

ตำแหน่งและการกระจัด
ตำแหน่ง (position) ก็คือการแสดงออก หรือการบอกให้ทราบว่า วัตถุหรือสิ่งของที่พิจารณาอยู่ที่ใด เราจะคิดถึงวัตถุที่มีขนาดเล็กก่อน ซึ่งจะสามารถบอกได้ชัดเจนว่ามีตำแหน่งอยู่ที่ใด โดยเฉเพาะบนเส้นตรงเส้นหนึ่งเมื่อเทียบกับจุดอ้างอิง จุดอ้างอิงเป็นปัจจัยจำเป็นเพื่อความชัดเจน อาจจะเป็นจุดศูนย์ของโคออติเตในพิกัด xy เนื่องจากเราจะพิจารณากรณีหนึ่งมิติก่อน เราจะใช้เฉเพาะแกน x และอาจบอกว่าวัตถุของเราอยู่ที่ตำแหน่ง \displaystyle x = x_1  ที่เวลา \ t_1  อันหมายถึงวัตถุที่ระยะทาง \x_1 จากจุด O (จุดอ้างอิง) ที่เวลาดังกล่าว ถ้าวัตถุเลื่อนไปอยู่ที่ \x_2 ที่เวลา แสดงว่า วัตถุได้มีการเคลื่อนที่ไประหว่างเวลา และ ตำแหน่งของทั้งสองของวัตถุอาจแสดงดังรูป 2.1 อ่านเพิ่มเติม

<b>รูป 2.1 การแสดงตำแหน่งและการกระจัดของวัตถุบนแกน x</b>


บทที่ 1 บทนำ

ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ (physics) มาจากภาษากรีก ที่มีความหมายว่า ธรรมชาติ” (nature)
ดังนั้นฟิสิกส์จึงควรจะหมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติทั้งหลาย
  และมีความหมายเช่นนั้นในสมัยก่อน ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่า
ปรัชญาธรรมชาติ ” (natural science) ปัจจุบันความรู้ความเข้าใจ
ในธรรมชาติได้ขยายขึ้นอย่างมากทั้งในเชิงรายละเอียดและสาขาของความรู้
 โดยเฉเพาะความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ( science ) อ่านเพิ่มเติม
ตัวนำหน้ามาตรฐานชื่อภาษาไทยสัญลักษณ์ย่อตัวคูณที่เทียบเท่า
femto-เฟมโตf 10-15
pico-พิโกp 10-12
nano-นาโนn 10-9
micro-ไมโครu 10-6
milli-มิลลิ M 103
kilo-กิโล K 103
mega-เมกะ M 106
giga-จิกะ G 109
tera-เทระ T
 1012

การวัดและการแปรความหมายข้อมูล
หน่วยเอสไอ ( SI = Systeme International d ' Unites ) เป็นระบบหน่วยระหว่างชาติ
ใช้วัดปริมาณทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2503
ระบบหน่วยระหว่างชาติประกอบด้วยหน่วยฐานและหน่วยอนุพันธ์
     ก.       หน่วยฐาน เป็นหน่วยหลักของหน่วยเอสไอ มี 7 หน่วย
        ดังตาราง 2.7

       ข.       หน่วยอนุพันธ์ เป็นหน่วยที่เกิดจากหน่วยฐานหลายหน่วยรวมกัน
                                       เช่น แรง ความดัน งานพลังงานกำลัง เป็นต้น ดูภาคผนวก
        ค.       คำอุปสรรค ในกรณีที่หน่วยฐานหรือหน่วยอนุพันธ์มีค่ามากหรือน้อยเกินไป
                                   เราจะใช้คำอุปสรรค (prefixes) เขียนวางไว้หน้าหน่วยนั้น โดยมีหลักว่า

ใช้คำอุปสรรคครั้งเดียวโดยไม่ต้องเขียนซ้อนกัน
เมื่อใช้คำอุปสรรควางหน้าหน่วยใดแล้วเวลายกกำลังไม่ต้องใส่วงเล็บ อ่านเพิ่มเติม